ความหมายและกระบวนการสื่อสาร แนวคิดและทฤษฎีความสัมพันธ์ รูปแบบความสัมพันธ์ การใช้อวัจนภาษาเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ การใช้วัจนภาษาเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์
รูปแบบ เนื้อหา แนวคิดและกลวิธีการแต่งวรรณกรรมไทยสมัยสุโขทัยจนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อิทธิพลของสังคมต่อการสร้างและการเสพวรรณกรรมไทยสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ความหมาย ความเป็นมา ประเภทของแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรม จุดมุ่งหมายของการตั้งแหล่งเรียนรู้ ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ หน้าที่และบทบาทของแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมในระดับสากล ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรม การจัดเก็บมรดกทางวัฒนธรรม การจัดการวัตถุ การจัดนิทรรศการ การจัดกิจกรรม การเผยแพร่ บทบาทของแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมด้านบริการชุมชนและการศึกษา ฝึกปฏิบัติการและกรณีศึกษานวัตกรรมการจัดการแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรม
ลักษณะโดยทั่วไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการเผยแผ่วัฒนธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลวัฒนธรรมจีนในเวียดนาม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน “ยุคคลาสสิก” เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน“ยุคจารีต” การเข้ามาของวัฒนธรรมอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเข้ามาของชาวตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังยุคอาณานิคม กำเนิดอาเซียนและพัฒนาการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้อาเซียน
แนวคิด ทฤษฎี วิธีการศึกษา วิธีการทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดี วิธีการอนุรักษ์หลักฐานทางโบราณคดี วิธีการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถาน ฝึกปฏิบัติการและกรณีศึกษาวิธีการทางเทคโลยีและวิทยาศาสตร์ในโบราณคดี
ความหมาย ความเป็นมา รูปแบบและองค์ประกอบของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น การอนุรักษ์ การพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในชุมชนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม นโยบายและบทบาทของหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ฝึกปฏิบัติการและกรณีศึกษานวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ความเป็นเมืองและความเป็นชนบท ความเชื่อมโยงระหว่างเมืองและชนบท การกลายเป็นเมือง แนวคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน การจัดการเมืองอย่างมีส่วนร่วม การผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน การเข้าถึงที่อยู่อาศัยและบริการพื้นฐาน การจัดการสิ่งแวดล้อมในเมือง การคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ เมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของแนวคิดความยากจน วาทกรรมความยากจน ความยากจนจากมุมมองเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์การเมือง เสรีนิยมใหม่ ทุนทางสังคมและความเปราะบาง ความเหลื่อมล้ำ วิธีการทำความเข้าใจความยากจน การวิเคราะห์ความยากจน นวัตกรรมทางสังคมและคนจน โมเดลต้นแบบแก้จน บทบาทของรัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาสังคมกับการแก้ความยากจน การใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่และข้อมูลเชิงลึกในการแก้ไขความยากจน
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความเคลื่อนไหวและข้อถกเถียงในระดับโลกและระดับท้องถิ่นเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ อาหาร ภัยพิบัติ การย้ายถิ่น สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและวิถีชีวิต บทบาทองค์กรนานาชาติ รัฐ เอกชนและชุมชนในการรับมือความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
แนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ภูมิศาสตร์เชิงประวัติภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อารยธรรมจีนและอินเดียในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อาณาจักรโบราณในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง วิกฤติทางการเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 การสร้างอาณานิคมตะวันตกในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สงครามโลกครั้งที่ 2 ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผลกระทบของสงครามเย็นต่อสังคมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ความหมาย ความเป็นมา ศิลปกรรมต้นแบบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เน้นศิลปะอินเดีย รูปแบบของศิลปะอินเดียตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะอินเดียโบราณ ศิลปะคันธาระ ศิลปะ มถุรา ศิลปะอมราวดี ศิลปะคุปตะและหลังคุปตะ ศิลปะปาละและเสนะ ศิลปะทมิฬ ศิลปะสมัยอิสลาม อิทธิพลศิลปะอินเดียที่มีต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความหมาย ขอบเขตการศึกษาวิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะไทย วิธีการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทยจากหลักฐานทางโบราณคดีและศิลปกรรม แหล่งโบราณคดีและแหล่งศิลปกรรมสำคัญในประเทศไทย โบราณคดีและศิลปกรรมในประเทศไทยยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคประวัติศาสตร์ เจนละ ทวารวดี เขมร อยุธยา ล้านช้างและอีสาน ล้านนา ธนบุรีและรัตนโกสินทร์
หลักการรับสารอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาทักษะการอ่านและการฟังอย่างมีวิจารณญาณ การจับใจความ วินิจสาร ตีความ น้ำเสียงและจุดประสงค์ของสาร
การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีไทยสอดคล้องกับความถนัด การบรรเลงเครื่องสายหรือปี่พาทย์ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพดนตรีไทยขั้นที่ 9 หรือการฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีตะวันตก 1 ชิ้น การเรียนรู้จากการฝึกซ้อม การวิเคราะห์และการตีความหมายของบทเพลง การพัฒนาทักษะดนตรีต่อเนื่องจากรายวิชาทักษะดนตรี 4
การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีไทยสอดคล้องกับความถนัด การบรรเลงเครื่องสายหรือปี่พาทย์ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพดนตรีไทยขั้นที่ 7 หรือการฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีตะวันตก 1 ชิ้น การเรียนรู้จากการฝึกซ้อม การวิเคราะห์และการตีความหมายของบทเพลง การพัฒนาทักษะดนตรีต่อเนื่องจากรายวิชาทักษะดนตรี 2
การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีไทยสอดคล้องกับความถนัด การบรรเลงเครื่องสายหรือปี่พาทย์ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพดนตรีไทยขั้นที่ 1-3 หรือการฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีตะวันตก 1 ชิ้น การฝึกซ้อมอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ การวิเคราะห์และการตีความบทเพลง การพัฒนาทักษะดนตรีขั้นพื้นฐาน
แนวคิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสรีนิยมใหม่และโลกาภิวัตน์กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นโยบายและกฎหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลไกการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประชาสังคม สิทธิมนุษยชนและการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความหมาย รูปแบบและลักษณะเฉพาะของเอกสารมรดกระดับสากล ระดับชาติและระดับท้องถิ่น องค์ประกอบของเอกสารมรดก หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเอกสารมรดก แหล่งเก็บและอนุรักษ์เอกสารมรดก กรณีศึกษามรดกความทรงจำ
ธรรมชาติของภาษาไทย ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับครูภาษาไทย ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ภาษาไทยกับแนวคิดทางภาษาไทย สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ผลการเรียนรู้และจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม การประเมินผลการเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้และนวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย สื่อและการผลิตสื่อการเรียนรู้ภาษาไทย การออกแบบและการสร้างเครื่องมือทางภาษาไทย การฝึกการสอนระดับจุลภาค