Course image ว30235 เคมี 4
โครงการ วมว.

คำอธิบายรายวิชา

เคมี 4   ว30235                                                กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2                                              เวลา 40 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศึกษา วิเคราะห์ คำนวณ ทดลอง  ทดสอบ อธิบาย ระบุ สืบค้น นำเสนอ เกี่ยวกับตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ที่มีพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม ที่พบในชีวิตประจำวัน สูตรโครงสร้างลิวอิส สูตรโครงสร้างแบบย่อ สูตรโครงสร้างแบบเส้น ประเภทของสารประกอบอินทรีย์ ชื่อสารประกอบอินทรีย์ตามระบบ IUPAC ไอโซเมอร์โครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ จุดเดือดและการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาการเผาไหม้ ปฏิกิริยากับโบรมีน หรือปฏิกิริยากับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต

สมการเคมีการเกิดปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาการสังเคราะห์เอไมด์  ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน การนำสารประกอบอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรม ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์จากโครงสร้างของมอนอเมอร์หรือพอลิเมอร์  โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ ประเภทของพลาสติกและผลิตภัณฑ์ยาง การปรับเปลี่ยนโครงสร้างพอลิเมอร์ที่มีต่อสมบัติของพอลิเมอร์  ผลกระทบจากการใช้และการกำจัดผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์และแนวทางแก้ไข

โดยใช้การบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะและคณิตศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์    การทดลอง การอภิปราย การอธิบายและสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

          เพื่อให้ปฏิบัติตนให้มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

 

ผลการเรียนรู้

1. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ที่มีพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม ที่พบในชีวิตประจำวัน

2. เขียนสูตรโครงสร้างลิวอิส สูตรโครงสร้างแบบย่อ และสูตรโครงสร้างแบบเส้นของสารประกอบอินทรีย์

3. วิเคราะห์โครงสร้าง และระบุประเภทของสารประกอบอินทรีย์จากหมู่ฟังก์ชัน

4. เขียนสูตรโครงสร้างและเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ ที่มีหมู่ฟังก์ชันไม่เกิน ๑ หมู่ ตามระบบ IUPAC

5. เขียนไอโซเมอร์โครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ

6. วิเคราะห์ และเปรียบเทียบจุดเดือดและการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชัน ขนาดโมเลกุล หรือโครงสร้างต่างกัน

7. ระบุประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและเขียนผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาการเผาไหม้ ปฏิกิริยากับโบรมีน หรือปฏิกิริยากับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต

8. เขียนสมการเคมีและอธิบายการเกิดปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาการสังเคราะห์เอไมด์ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน

9. ทดสอบปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน

10. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอตัวอย่างการนำสารประกอบอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรม

11. ระบุประเภทของปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์จากโครงสร้างของมอนอเมอร์หรือพอลิเมอร์

12. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์

13. วิเคราะห์วิธีทดสอบพลาสติกชนิดต่างๆ

14. อธิบายผลของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพอลิเมอร์ที่มีต่อสมบัติของพอลิเมอร์

15. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอตัวอย่างผลกระทบจากการใช้และการกำจัดผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์และแนวทางแก้ไข

รวมทั้งหมด  15 ผลการเรียนรู้

 


Course image ว32295 วิทยาศาสตร์อุบลราชธานี
โครงการ วมว.

คำอธิบายรายวิชา

วิทยาศาสตร์อุบลราชธานี   ว32295                         กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2                                                     เวลา 20 ชั่วโมง 0.5 หน่วยกิต

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิทยาศาสตร์ของศิลปะ วัฒนธรรม สังคมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานี  วิทยาศาสตร์ของเทียนพรรษา ธรณีวิทยาของแหล่งธรณีวิทยาสำคัญในจังหวัดอุบลราชธานี ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี ความหลากหลายทางชีวภาพของอุทยานแห่งชาติผาแต้มและ       ภูจองนายอย วัดเรืองแสง ผ้ากาบบัวและการย้อมสีธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ของการเกษตรลุ่มแม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำมูน

โดยใช้การบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะและคณิตศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์      การทดลอง การอภิปราย การอธิบายและสรุป

เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์ และสามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ ตัดสินใจและแก้ปัญหา สร้างแบบจำลองหรือชิ้นงาน ดำรงชีวิตตนเองได้อย่างมีความสุข และพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

ผลการเรียนรู้

1. ตระหนักถึงความสำคัญและบอกคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม สังคมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานีได้

2. อธิบายหลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ วัฒนธรรม สังคมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานีได้

3. อธิบายหลักการวิทยาศาสตร์ของขี้ผึ้งและเทียนพรรษาและบอกความความสำคัญและบอกคุณค่าของประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีได้

4. อธิบายความเป็นมาและหลักการทางธรณีวิทยาของแหล่งธรณีวิทยาสำคัญในจังหวัดอุบลราชธานีได้

5. อธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานีได้ เช่น แม่น้ำสองสี น้ำโขงเปลี่ยนสี ตะวันแรกแห่งสยาม และกุ้งเดินขบวน

6. อธิบายความหลากหลายทางชีวภาพของอุทยานแห่งชาติผาแต้มและภูจองนายอยและนำไปประยุกต์ใช้ในเนื้อหาที่เรียนได้

7. อธิบายหลักการของการเรืองแสง วัสดุเรืองแสง และการนำไปประยุกต์ใช้ในวัดเรืองแสงของจังหวัดอุบลราชธานีได้

8. อธิบายวิทยาศาสตร์ของของเส้นใยธรรมชาติ สีย้อมจากต้นไม้ และการย้อมสีธรรมชาติของผ้ากาบบัวของจังหวัดอุบลราชธานีได้

9. อธิบายแนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์ของการเกษตรลุ่มแม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำมูนและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้

10. จัดทำโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะและคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้ 

11. มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม ค่านิยมและประยุกต์ใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รวมผลการเรียนรู้ 11 ข้อ


Course image ค32010 เรขาคณิตวิเคราะห์และแคลคูลัส 2
โครงการ วมว.

คำอธิบายรายวิชา

30210  เรขาคณิตวิเคราะห์และแคลคูลัส 2              กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่                         เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต


ศึกษาความรู้พื้นฐานเบื้องต้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ได้ในเนื้อหาเกี่ยวกับ  สมการและกราฟของผิวในปริภูมิสามมิติ  ระนาบทรงกลม  ทรงรี  ทรงไฮเพอร์โบลา  กรวย  ทรงพาราโบลา  ทรงกระบอก  ลำดับและอนุกรม  ลำดับจำกัดและลำดับอนันต์  ลำดับเลขคณิตและลำดับเรขาคณิต  ลิมิตของลำดับอนันต์  อนุกรมจำกัดและอนุกรมอนันต์  อนุกรมเลขคณิตและอนุกรมเรขาคณิต  ผลบวกอนุกรมอนันต์  การนำความรู้เกี่ยวกับลำดับและอนุกรมไปใช้ในการแก้ปัญหามูลค่าของเงินและค่ารายงวดแคลคูลัสเบื้องต้น  อินทิกรัล เทคนิคการอินทิเกรตและการประยุกต์ การประมาณค่าของอินทิกรัลจำกัดเขต อินทิกรัลไม่ตรงแบบ

โดยนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  เน้นที่ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นและต้องการพัฒนาให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน  ได้แก่ความสามารถใน การแก้ปัญหา  การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  การเชื่อมโยง  การให้เหตุผล  และการคิดสร้างสรรค์ 

เห็นคุณค่าและ มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์มีความใฝ่เรียนรู้ ความมุ่งมั่นในการทำงาน รู้สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบมีวินัยมีความรอบคอบมีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริตมีวิจารณญาณและมีความเชื่อมั่นในตนเองและใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์

ผลการเรียนรู้

1. เข้าใจความรู้เกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ในสามมิติ

2. ระบุได้ว่าลำดับที่กำหนดให้เป็นลำดับลู่เข้าหรือลู่ออก

3. หาผลผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิตและอนุกรมเรขาคณิต

4. หาผลบวกอนุกรมอนันต์

5. เข้าใจและนำความรู้เกี่ยวกับลำดับและอนุกรมไปใช้

6. หาปฏิยานุพันธ์และใช้เทคนิคต่างๆหาอินทิกรัลของฟังก์ชันได้

7. หาอินทิกรัลจำกัดเขต และใช้ทฤษฎีบทหลักมูลของแคลคูลัสได้

8. นำความรู้เกี่ยวกับการอินทิเกรตไปใช้หาพื้นที่ระหว่างเส้นโค้ง ปริมาตรที่เกิดจากการหมุนได้

   9. ประมาณค่าของอินทิกรัลจำกัดเขตได้

   10. หาค่าอินทิกรัลไม่ตรงแบบได้

ผลการเรียนรู้ทั้งหมด  10  ข้อ

 

 


Course image ว30206 ฟิสิกส์ 1
โครงการ วมว.

คำอธิบายรายวิชา

30206   ฟิสิกส์ 1                                                       กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ภาคเรียนที่ 1                                เวลา  60 ชั่วโมง  จำนวน  1.หน่วยกิต

 

ศึกษา วิเคราะห์ ทดลอง และอธิบายเกี่ยวกับความรู้ทางฟิสิกส์ ประวัติความเป็นมา พัฒนาการของหลักการและแนวคิดทางฟิสิกส์ การพัฒนาเทคโนโลยี การวัด การรายงานผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ การแสดงผลการทดลองในรูปของกราฟ การวิเคราะห์และแปลความหมายจากกราฟเส้นตรง  ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่ง การกระจัด ความเร็ว และความเร่งของการเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรงที่มีความเร่งคงตัวจากกราฟและสมการ  การหาค่าความเร่งโน้มถ่วงของโลก การคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคลื่อนที่ การหาแรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่ทำมุมต่อกัน เขียนแผนภาพของแรงที่กระทำต่อวัตถุอิสระ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน การใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันกับสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ  กฎความโน้มถ่วงสากลและผลของสนามโน้มถ่วงที่ทำให้วัตถุมีน้ำหนัก รวมทั้งคำนวณปริมาณต่างๆที่เกี่ยวข้อง  คำนวณหาแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง ๆ ในกรณีที่วัตถุหยุดนิ่งและวัตถุเคลื่อนที่ หาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง ๆ นำความรู้เรื่องแรงเสียดทานไปใช้ในชีวิตประจำวัน

          โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          เพื่อให้ปฏิบัติตนให้มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

ผลการเรียนรู้

1.       สืบค้น และอธิบายการค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์ ประวัติความเป็นมา รวมทั้งพัฒนาการของหลักการและแนวคิดทางฟิสิกส์ที่มีผลต่อการแสวงหาความรู้ใหม่และการพัฒนาเทคโนโลยี

2.       วัด และรายงานผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ได้ถูกต้องเหมาะสม โดยนำความคลาดเคลื่อนในการวัดมาพิจารณาในการนำเสนอผล รวมทั้งแสดงผลการทดลองในรูปของกราฟ วิเคราะห์และแปลความหมายจากกราฟเส้นตรง

3.       ทดลอง และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่ง การกระจัด ความเร็ว และความเร่งของการเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรงที่มีความเร่งคงตัวจากกราฟและสมการ รวมทั้งทดลองหาค่าความเร่งโน้มถ่วงของโลก และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

4.       ทดลอง และอธิบายการหาแรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่ทำมุมต่อกัน

5.       เขียนแผนภาพของแรงที่กระทำต่อวัตถุอิสระ ทดลอง และอธิบายกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันและการใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันกับสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

6.       อธิบายกฎความโน้มถ่วงสากลและผลของสนามโน้มถ่วงที่ทำให้วัตถุมีน้ำหนัก รวมทั้งคำนวณปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

7.       วิเคราะห์ อธิบาย และคำนวณแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง ๆ ในกรณีที่วัตถุหยุดนิ่งและวัตถุเคลื่อนที่ รวมทั้งทดลองหาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง ๆ และนำความรู้เรื่องแรงเสียดทานไปใช้ในชีวิตประจำวัน

รวมทั้งหมด  7 ผลการเรียนรู้


Course image ว30207 ฟิสิกส์ 2
โครงการ วมว.

ศึกษา วิเคราะห์ ทำการทดลอง เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสมดุลกล สมดุลต่อการเลื่อนที่   สมดุลต่อการหมุน  โมเมนต์ของแรง  โมเมนต์ของแรงคู่ควบ เสถียรภาพของวัตถุ   งานเนื่องจากแรงคงตัว งานเนื่องจากแรงไม่คงตัว กำลัง พลังงานกล พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ กฎการอนุรักษ์พลังงานกล งานเนื่องจากแรงอนุรักษ์ ประสิทธิภาพของเครื่องกล   หลักการของงานกับเครื่องกลอย่างง่าย หลักการสมดุลกลกับเครื่องกลอย่างง่าย      โมเมนตัม แรงและการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม   การดลและกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม   การชนของวัตถุในหนึ่งมิติการดีดตัวแยกจากกันของวัตถุในหนึ่งมิติ การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบวงกลมสม่ำเสมอ และการเคลื่อนที่ของดาวเทียม

          โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          เพื่อให้ปฏิบัติตนให้มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

 

ผลการเรียนรู้

1.         อธิบายสมดุลกลของวัตถุ โมเมนต์ และผลรวมของโมเมนต์ที่มีต่อการหมุน แรงคู่ควบและผลของแรงคู่ควบที่มีต่อสมดุลของวัตถุ เขียนแผนภาพของแรงที่กระทำต่อวัตถุอิสระเมื่อวัตถุอยู่ในสมดุลกล และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทดลองและอธิบายสมดุลของแรงสามแรง

2.         สังเกตและอธิบายสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ เมื่อแรงที่กระทำต่อวัตถุผ่านศูนย์กลางมวลของวัตถุ และผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ

3.         วิเคราะห์ และคำนวณงานของแรงคงตัว จากสมการและพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับตำแหน่ง รวมทั้งอธิบาย และคำนวณกำลังเฉลี่ย

4.         อธิบายและคำนวณพลังงานจลน์ พลังงานศักย์ พลังงานกล ทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานจลน์ ความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานศักย์โน้มถ่วง ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะที่สปริงยืดออกและความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่น รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงลัพธ์และพลังงานจลน์ และคำนวณงานที่เกิดขึ้นจากแรงลัพธ์

5.         อธิบายกฎการอนุรักษ์พลังงานกล รวมทั้งวิเคราะห์ และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้กฎการอนุรักษ์พลังงานกล

6.         อธิบายการทำงาน ประสิทธิภาพและการได้เปรียบเชิงกลของเครื่องกลอย่างง่ายบางชนิด โดยใช้ความรู้เรื่องงานและสมดุลกล รวมทั้งคำนวณประสิทธิภาพและการได้เปรียบเชิงกล

7.         อธิบาย และคำนวณโมเมนตัมของวัตถุ และการดลจากสมการและพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงลัพธ์กับเวลา รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงดลกับโมเมนตัม

8.         ทดลอง อธิบาย และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการชนของวัตถุในหนึ่งมิติ ทั้งแบบยืดหยุ่น ไม่ยืดหยุ่น และการดีดตัวแยกจากกันในหนึ่งมิติซึ่งเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม

9.         อธิบาย วิเคราะห์ และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ และทดลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

10.     ทดลอง และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงสู่ศูนย์กลาง รัศมีของการเคลื่อนที่ อัตราเร็วเชิงเส้น อัตราเร็วเชิงมุม และมวลของวัตถุ ในการเคลื่อนที่แบบวงกลมในระนาบระดับ รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ความรู้การเคลื่อนที่แบบวงกลม ในการอธิบายการโคจรของดาวเทียม

รวมทั้งหมด  10 ผลการเรียนรู้


Course image ว 30210 ฟิสิกส์ 5
โครงการ วมว.

คำอธิบายรายวิชา

ว30210   ฟิสิกส์ 5                               กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 1                            เวลา  60 ชั่วโมง  จำนวน  1.5  หน่วยกิต

 

ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์  อธิบาย คำนวณ สนามแม่เหล็ก แรงแม่เหล็กที่กระทำกับประจุไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและกฎของฟาราเดย์  ไฟฟ้ากระแสสลับ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการสื่อสาร ความร้อนที่ทำให้สสาร เปลี่ยนเข้าใจความสัมพันธ์ของความร้อนกับการเปลี่ยนอุณหภูมิและสถานะของสสารสภาพยืดหยุ่นของวัสดุและมอดุลัสของยัง ความดันในของไหล แรงพยุง และหลักของอาร์คิมีดิส ความตึงผิวและแรงหนืดของของเหลว ของไหลอุดมคติ และสมการแบร์นูลลี กฎของแก๊ส ทฤษฎีจลน์ของแก๊สอุดมคติและพลังงานในระบบทฤษฎีอะตอมของโบร์ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค กัมมันตภาพรังสี แรงนิวเคลียร์ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ พลังงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์อนุภาค

โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

          เพื่อให้ปฏิบัติตนให้มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

ผลการเรียนรู้

รวมทั้งหมด  26 ผลการเรียนรู้

1.         สังเกต และอธิบายเส้นสนามแม่เหล็ก คำนวณฟลักซ์แม่เหล็กในบริเวณที่กำหนด สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำเส้นตรงและโซเลนอยด

2.         อธิบาย และคำนวณแรงแม่เหล็กที่กระทำต่ออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กแรงแม่เหล็กที่กระทำต่อเส้นลวดที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านและวางในสนามแม่เหล็ก รัศมีความโค้งของการเคลื่อนที่เมื่อประจุเคลื่อนที่ตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก รวมทั้งอธิบายแรงระหว่างเส้นลวดตัวนำคู่ขนานที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน

3.         อธิบายหลักการทำงานของแกลแวนอมิเตอร์และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง รวมทั้งคำนวณปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

4.         สังเกต และอธิบายการเกิดอีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำกฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนำความรู้เรื่องอีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำไปอธิบายการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า

5.         อธิบาย และคำนวณความต่างศักย์อาร์เอ็มเอสและกระแสไฟฟ้าอาร์เอ็มเอส

6.         อธิบายหลักการทำงานและประโยชน์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ๓ เฟสการแปลงอีเอ็มเอฟของหม้อแปลง และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

7.         อธิบายการเกิดและลักษณะเฉพาะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสงไม่โพลาไรส์แสงโพลาไรส์เชิงเส้น และแผ่นโพลารอยด์ นำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความถี่ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้และหลักการทำงานของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

8.         สืบค้น และอธิบายการสื่อสารโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการส่งผ่านสารสนเทศและเปรียบเทียบการสื่อสารด้วยสัญญาณแอนะล็อกกับสัญญาณดิจิทัล

9.         อธิบาย และคำนวณความร้อนที่ทำให้สสารเปลี่ยนอุณหภูมิ ความร้อนที่ทำให้สสารเปลี่ยนสถานะ และความร้อนที่เกิดจากการถ่ายโอนตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน

10.     อธิบายสภาพยืดหยุ่นและลักษณะการยืดและหดตัวของวัสดุที่เป็นแท่ง เมื่อถูกกระทำด้วยแรงค่าต่าง ๆ รวมทั้งทดลอง และคำนวณความเค้นตามยาว ความเครียดตามยาวและมอดุลัสของยัง และนำความรู้เรื่องสภาพยืดหยุ่นไปใช้ในชีวิตประจำวัน

11.     อธิบาย และคำนวณความดันเกจ ความดันสัมบูรณ์ และความดันบรรยากาศ รวมทั้งอธิบายหลักการทำงานของแมนอมิเตอร์บารอมิเตอร์ และเครื่องอัดไฮดรอลิก

12.     ทดลอง อธิบาย และคำนวณขนาดแรงพยุงจากของไหล

13.     ทดลอง อธิบาย และคำนวณความตึงผิวของของเหลว รวมทั้งสังเกตและอธิบายแรงหนืดของของเหลว

14.     อธิบายสมบัติของของไหลอุดมคติ สมการความต่อเนื่อง และสมการแบร์นูลลี รวมทั้งคำนวณปริมาณ

ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำความรู้เกี่ยวกับสมการความต่อเนื่องและสมการแบร์นูลลีไปอธิบายหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ

15.     อธิบายกฎของแก๊สอุดมคติและคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

16.     อธิบายแบบจำลองของแก๊สอุดมคติ ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส และอัตราเร็วอาร์เอ็มเอสของโมเลกุลของแก๊ส รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

17.     อธิบาย และคำนวณงานที่ทำโดยแก๊สในภาชนะปิดโดยความดันคงตัว ความสัมพันธ์ระหว่างความร้อน พลังงานภายในระบบ และงานรวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและนำความรู้เรื่องพลังงานภายในระบบไปอธิบายหลักการทำงานของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

18.     อธิบายสมมติฐานของพลังค์ ทฤษฎีอะตอมของโบร์ และการเกิดเส้นสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจน รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

19.     อธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกและคำนวณพลังงานโฟตอน พลังงานจลน์ของโฟโตอิเล็กตรอนและฟังก์ชันงานของโลหะ

20.     อธิบายทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค รวมทั้งอธิบาย และคำนวณความยาวคลื่นเดอบรอยล

21.     อธิบายกัมมันตภาพรังสีและความแตกต่างของรังสีแอลฟา บีตา และแกมมา

22.     อธิบาย ทดลองและคำนวณกัมมันตภาพของนิวเคลียสกัมมันตรังสี จำนวนนิวเคลียสกัมมันตภาพรังสีที่เหลือจากการสลาย และครึ่งชีวิต

23.     อธิบายแรงนิวเคลียร์ เสถียรภาพของนิวเคลียสและพลังงานยึดเหนี่ยว รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

24.     อธิบายปฏิกิริยานิวเคลียร์ ฟิชชันและฟิวชันรวมทั้งคำนวณพลังงานนิวเคลียร์

25.     อธิบายประโยชน์ของพลังงานนิวเคลียร์ และรังสี รวมทั้งอันตรายและการป้องกันรังสีในด้านต่าง ๆ

26.     อธิบายการค้นคว้าวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคแบบจำลองมาตรฐาน และการใช้ประโยชน์จากการค้นคว้าวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคในด้านต่าง ๆ

 

 

 

 

 


 


Course image ว30215 อิเล็กทรอนิกส์สำหรับโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงการ วมว.

 คำอธิบายรายวิชา

ว30215 อิเล็กทรอนิกส์สำหรับโครงงานวิทยาศาสตร์             กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 1,2                      เวลา  40 ชั่วโมง  จำนวน  1.0  หน่วยกิต

  

ศึกษา อธิบาย สืบค้นข้อมูล กระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า อุปกรณ์พื้นฐานในวงจรไฟฟ้า ลักษณะ สัญลักษณ์และสมบัติของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ วงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น วงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการประยุกต์ใช้ในโครงงานวิทยาศาสตร์   ปฏิบัติ ทดลอง อธิบาย อุปกรณ์พื้นฐานในวงจรไฟฟ้า ลักษณะ สัญลักษณ์ และสมบัติของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ วงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น และวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการประยุกต์ใช้ในโครงงานวิทยาศาสตร์

โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ และค่านิยมที่เหมาะสม

          เพื่อให้ปฏิบัติตนให้มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง และสังคม

         

ผลการเรียนรู้

     1.อธิบายความหมายของกระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า อุปกรณ์พื้นฐานในวงจรไฟฟ้าได้

2. อธิบายความหมายของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้

3. อธิบายรูปแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ได้

4.อธิบายลักษณะและสมบัติของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้

5.อ่านค่าและระบุชนิดของอุปกรณ์ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้

6.คำนวณ ทดลองและศึกษาการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้

7.อธิบายลักษณะและวิธีการต่อวงจรเพื่อใช้งานอุปกรณ์ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้

8.อธิบายส่วนประกอบขอวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อประยุกต์ใช้งานได้

9.วิเคราะห์และระบุชนิดของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการประยุกต์ใช้งานได้

10.มีทักษะสามารถประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการประยุกต์ใช้งานในโครงงานวิทยาศาสตร์ได้


Course image ว30216 เทคโนโลยีเซนเซอร์และการประยุกต์
โครงการ วมว.

คำอธิบายรายวิชา

ว30216 เทคโนโลยีเซนเซอร์และการประยุกต์                         กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 1,2                         เวลา  40 ชั่วโมง  จำนวน  1.0  หน่วยกิต

 

 

ศึกษา อธิบาย สืบค้นข้อมูล ความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ของเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณต่างๆ ได้แก่แสง อุณหภูมิ ความชื้น เสตรนเกจ ระยะทาง อัตราการไหล และระดับ  ปฏิบัติ ทดลอง อธิบาย ความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ของเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณต่างๆ ได้แก่แสง อุณหภูมิ ความชื้น เสตรนเกจ ระยะทาง อัตราการไหล และระดับ

โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ และค่านิยมที่เหมาะสม

เพื่อให้ปฏิบัติตนให้มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง และสังคม

 

ผลการเรียนรู้

1.       อธิบายความหมายของเซนเซอร์วัดปริมาณต่างๆได้

2.       อธิบายหลักการทำงานของเซนเซอร์วัดแสงและการประยุกต์ได้

3.       อธิบายหลักการทำงานของเซนเซอร์วัดอุณหภูมิและการประยุกต์ได้

4.       อธิบายหลักการทำงานของเซนเซอร์วัดความชื้นและการประยุกต์ได้

5.       อธิบายหลักการทำงานของเสตรนเกจและการประยุกต์ได้

6.       อธิบายหลักการทำงานของเซนเซอร์วัดระยะทางและการประยุกต์ได้

7.       อธิบายหลักการทำงานของเซนเซอร์วัดอัตราการไหลและการประยุกต์ได้

8.       อธิบายหลักการทำงานของเซนเซอร์วัดระดับและการประยุกต์ได้

9.       วิเคราะห์และระบุชนิดของเซนเซอร์วัดปริมาณต่างๆและการประยุกต์ได้

10.   มีทักษะสามารถนำเซนเซอร์ชนิดต่างๆไปประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวันได้

 

รวมทั้งหมด  10 ผลการเรียนรู้

 

 

 


Course image ว30226 เคมี 1
โครงการ วมว.

คำอธิบายรายวิชา

เคมี 1   ว30226                                               กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1                                               เวลา 80 ชั่วโมง 2.0 หน่วยกิต

ศึกษาการใช้วัสดุและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเคมีรวมถึง ทักษะที่ต้องใช้ประกอบการใช้วัสดุและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ สารเคมี การติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ การดำเนินการทดลองและการดัดแปลงอุปกรณ์ได้ตามความเหมาะสม ฝึกทักษะการใช้สารเคมี ทักษะการติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ทักษะการดำเนินการทดลอง และทักษะการดัดแปลงอุปกรณ์ได้ตามความเหมาะสม ในการปฏิบัติการเคมีครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถ ด้านความชำนาญและความคล่องแคล่ว ด้านความระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย  และด้านการดำเนินการทดลอง  ศึกษา วิเคราะห์ธาตุและสารประกอบตลอดจนแนวคิดของแบบจำลองอะตอม โครงสร้างอะตอมของดอลตัน ทอมสัน รัทเทอร์ฟอร์ด โบร์ และแบบกลุ่มหมอก  ศึกษาอนุภาคมูลฐานของอะตอม เลขอะตอม เลขมวล ไอโซโทป  การจัดอิเล็กตรอนในอะตอม ศึกษาและทดลองสเปกตรัมของธาตุและสารประกอบ ศึกษาสมบัติธาตุ 20 ธาตุแรก การจัดธาตุเป็นหมวดหมู่ของนักเคมียุคต่าง ๆ จนถึงตารางธาตุปัจจุบัน แนวโน้มของสมบัติบางประการของธาตุตามตารางธาตุ การคำนวณหาเลขออกซิเดชัน ความสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดกับสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ การจัดเรียงธาตุและทำนายแนวโน้มสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ  ศึกษาและทดสอบสมบัติของสารประกอบคลอไรด์ และออกไซด์ของธาตุ สมบัติบางประการของธาตุตามหมู่และตามคาบ ปฏิกิริยาเคมีของธาตุและสารประกอบ หมู่ I , II, VII คาบที่ 2,3 ธาตุแทรนซิชัน ธาตุไฮโดรเจน ธาตุกัมมันตรังสีและการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี ปฏิกิริยาฟิชชัน ปฏิกิริยาฟิวชัน ประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสีและอันตรายต่อมนุษย์ ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมและอธิบายสมบัติของสารกัมมันตรังสี คำนวณครึ่งชีวิตและปริมาณของสารกัมมันตรังสี และนำเสนอตัวอย่างประโยชน์ของสารกัมมันตรังสีและการป้องกันอันตรายที่เกิดจากกัมมันตภาพรังสี การเกิดพันธะเคมีในโครงผลึกและในโมเลกุลของสาร สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต การเกิดพันธะไอออนิก สูตรเคมีและชื่อของสารประกอบไอออนิก พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก สมบัติของสารประกอบไอออนิก การละลายของสารไอออนิก สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ การเกิดพันธะโคเวเลนต์ สูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์ การเขียนโครงสร้างลิวอิส ความยาวพันธะและพลังงานพันธะของสารโคเวเลนต์ การคำนวณพลังงานของปฏิกิริยาจากพลังงานพันธะ ทฤษฎีการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์ รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลและสมบัติของสารโคเวเลนต์ ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์ การเกิดพันธะโลหะ ทฤษฎีแบบจำลองทะเลอิเล็กตรอนและทฤษฎีแถบพลังงาน สมบัติของโลหะ การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ พลังงานกับการเปลี่ยนสถานะ สมบัติของของแข็ง การเปลี่ยนสถานะของของแข็ง การจัดเรียงอนุภาคของของแข็ง สมบัติของของเหลว การระเหย จุดเดือดกับความดันไอของของเหลว สมบัติของแก๊ส ปริมาตรของแก๊ส การแพร่ของแก๊ส เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับสมบัติของของแข็ง ของเหลวและแก๊ส

โดยใช้การบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะและคณิตศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์     การทดลอง การอภิปราย การอธิบายและสรุป เพื่อให้เกิดความสามารถในการคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหา โดยใช้รูปแบบการวิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น โดยบูรณาการรูปแบบการสอนที่หลากหลาย อาทิเช่น  STEM, PBL ฯลฯ  ตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการพัฒนาโครงงานที่มีการ  บูรณาการกับวิชาอื่นอย่างสร้างสรรค์ โดยการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและใช้ความรู้และเทคโนโลยีด้านสารสนเทศในการแก้ปัญหากับชีวิตจริง มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

          เพื่อให้ปฏิบัติตนให้มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

 

ผลการเรียนรู้

1. อธิบายลักษณะของห้องปฏิบัติการได้

2. อธิบายหลักการจัดวัสดุอุปกรณ์ปฏิบัติการเคมีได้

3. สืบค้นข้อมูลและอธิบายการใช้สารเคมีและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการได้

4. สืบค้นข้อมูลและอธิบายหลักการในเลือกวัสดุอุปกรณ์ เทคนิควิธีการเตรียมสารและการทดลองได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

5. สืบค้นข้อมูลและอธิบายวิธีการป้องกันและแก้ไขอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมี

6. อธิบายวิธีการทำความสะอาด การซ่อมแซมและการดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือได้

7. สืบค้นข้อมูลสมมติฐาน การทดลองหรือผลการทดลองที่เป็นประจักษ์พยานในการเสนอ แบบจำลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์และอธิบายวิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม

8. เขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุและระบุจำนวนโปรตอน นิวตรอนและอิเล็กตรอนของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์รวมทั้งบอกความหมายของไอโซโทป

9. อธิบายและเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อย เมื่อทราบเลขอะตอมของธาตุ

10. ระบุหมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะและกึ่งโลหะของธาตุเรพรีเซนเททีฟและธาตุแทรนซิชันในตารางธาตุ

11. วิเคราะห์และบอกแนวโน้มสมบัติของธาตุเรพรีเซนเททีฟตามหมู่และตามคาบ

12. บอกสมบัติของธาตุโลหะแทรนซิชันและเปรียบเทียบสมบัติกับธาตุโลหะในกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ

13. อธิบายสมบัติและคำนวณครึ่งชีวิตของไอโซโทป กัมมันตรังสี

14. สืบค้นข้อมูลและยกตัวอย่างการนำธาตุมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม   

15. อธิบายการเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิก โดยใช้แผนภาพหรือสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส

16. เขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก

17. คำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบไอออนิกจากวัฏจักรบอร์นฮาเบอร์

18. อธิบายสมบัติกายภาพของสารประกอบไอออนิก และการละลายของสารไอออนิก

19. เขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิของปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก

20. อธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม ด้วยโครงสร้างลิวอิส

21. เขียนสูตรและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์

22. วิเคราะห์และเปรียบเทียบความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์รวมทั้งคำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของสารโคเวเลนต์จากพลังงานพันธะ

23. คาดคะเนรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์โดยใช้ทฤษฎีการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์และระบุสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์

24. ระบุชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ และเปรียบเทียบจุดหลอมเหลวจุดเดือด และการละลายน้ำ ของสารโคเวเลนต์

25. สืบค้นข้อมูลและอธิบายสมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายชนิดต่าง ๆ

26. อธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์โดยใช้ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์

27. อธิบายการเกิดพันธะโลหะ ทฤษฎีแบบจำลองทะเลอิเล็กตรอนและทฤษฎีแถบพลังงาน และสมบัติของโลหะ

28. เปรียบเทียบสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ สืบค้นข้อมูลและนำ เสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ ได้อย่างเหมาะสม

26. มีความเข้าใจสถานะ การเปลี่ยนแปลงของสาร สมบัติและการจัดเรียงอนุภาคสารในสถานะของแข็ง   ของเหลวและแก๊ส    

27. มีความเข้าใจสมบัติของของเหลว ความตึงผิว การระเหย และจุดเดือดของของเหลว

28. อธิบายความสัมพันธ์และคำนวณปริมาตร ความดัน จำนวนโมลหรือมวลของแก๊สหรืออุณหภูมิของแก๊ส ที่ภาวะต่าง ๆ ตามกฎของบอยล์, กฎของชาร์ล, กฎของเกย์ลูสแซก, กฎของอาโวกาโดรและกฎแก๊สอุดมคติ

29. คำนวณความดันย่อยหรือจำนวนโมลของแก๊สในแก๊สผสม โดยใช้กฎความดันย่อยของดอลตัล

30. อธิบายการแพร่ของแก๊สโดยใช้ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส คำนวณและเปรียบเทียบอัตราการแพร่ของแก๊ส โดยใช้กฎการแพร่ผ่านของเกรแฮม

31. สืบค้นข้อมูล นำเสนอตัวอย่างและอธิบายการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของของแข็ง ของเหล และแก๊ส มีความเข้าใจเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับของแข็ง ของเหลวและแก๊สในการอธิบายปรากฏการณ์หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในอุตสาหกรรม

รวมทั้งหมด 31 ผลการเรียนรู้


Course image ว30227 เคมี 2
โครงการ วมว.

        ศึกษา วิเคราะห์ คำนวณ ทดลอง  ทดสอบ อธิบาย ระบุ สืบค้น นำเสนอ เกี่ยวกับมวลอะตอมของธาตุ   มวลโมเลกุลของสาร  ความสัมพันธ์ระหว่างโมล  อนุภาค  มวลและปริมาตรของแก๊สที่ STP  หน่วยความเข้มข้นของสารละลาย  การเตรียมสารละลาย  การเปรียบเทียบจุดเดือด  จุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลาย   สูตรโมเลกุล  สูตรเอมพิริคัล  สูตรโครงสร้าง  หามวลเป็นร้อยละจากสูตร  ระบบปิดและระบบเปิด  ปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมีที่เป็นไปตามกฎทรงมวล  กฎสัดส่วนคงที่  ปริมาตรของแก๊สในปฏิกิริยาเคมีตามกฎของเกย์-ลูสแซก และกฎของอาโวกาโดร   ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสารในสมการเคมีนั้นๆ และสมการเคมีที่เกี่ยวข้องมากกว่าหนึ่งสมการ  สารกําหนดปริมาณ ผลได้ร้อยละ ทฤษฎีของจลนศาสตร์เคมีและอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี  ทดลองเพื่อศึกษาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี  การคํานวณหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาของสารจากกราฟ  กฎอัตราและกฎอัตราอินทิเกรต  ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยใช้ทฤษฎีจลน์และการชนกันของอนุภาค  การเกิดสารเชิงซ้อนกัมมันต์  พลังงานกับการดําเนินไปของปฏิกิริยาเคมี   กลไกของปฏิกิริยา ศึกษาและทดลองเกี่ยวกับผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว อุณหภูมิ ตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวหน่วงปฏิกิริยาต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี  สมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยา และการใช้ทฤษฎีจลน์อธิบายผลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี  

ศึกษา วิเคราะห์ นิยามที่สำคัญในเทอร์โมไดนามิกส์ งาน ความร้อน และพลังงานภายใน กฏข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์ และเอนทาลปี ความจุความร้อนและการหาปริมาณความร้อนในปฏิกิริยา   เทอร์โมเคมี การเปลี่ยนแปลงเอนโทรปี และกฏข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ กฏข้อที่สามของเทอร์โมไดนามิกส์ และเอนโทรปีกับทิศทางของปฏิกิริยา พลังงานอิสระ รวมทั้งทดลองการหาพลังงานการเกิดปฏิกิริยาของแมกนีเซียมออกไซด์

          โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

          เพื่อให้ปฏิบัติตนให้มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

ผลการเรียนรู้

1.       คำนวณหาน้ำหนักอะตอม โมเลกุล ไอออน น้ำหนักสูตรได้

2.       คำนวณหาโมล และความสัมพันธ์ระหว่างโมลกับปริมาณสารได้

3.       คำนวณหาสูตรเอมพิริกัลและสูตรโมเลกุลได้

4.       อธิบายความหมายของสารละลาย  ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยต่างๆ และคำนวณความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยต่างๆ ได้

5.       ทดลองเตรียมสารละลายในหน่วยความเข้มข้นต่างๆ ได้

6.       เขียนสมการเคมี  และคำนวณหาปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับสมการเคมีได้

7.       คำนวณหาสารกำหนดปริมาณ ผลผลิตตามทฤษฎี ผลผลิตจริง และร้อยละของผลิตภัณฑ์ได้

8.       คํานวณและเปรียบเทียบอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี  กฎอัตราและกฎอัตราอินทิเกรตได้

9.       เขียนและแปลความหมายกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารกับเวลา รวมทั้งสามารถหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจากกราฟได้

10.   อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยใช้ทฤษฎีจลน์และการชนกันของอนุภาค  กลไกของปฏิกิริยา และการเกิดสารเชิงซ้อนกัมมันต์ได้

11.   แปลความหมายกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานกับการดําเนินไปของปฏิกิริยาเคมีและสามารถระบุได้ว่าเป็นปฏิกิริยาดูดหรือคายพลังงานได้

12.   ระบุปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้

13.   อธิบายนิยามที่สำคัญในเทอร์โมไดนามิกส์  ความหมายของงาน ความร้อน และพลังงานภายในได้

14.   อธิบายความหมายและประยุกต์ใช้กฏข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์ เอนทาลปี ความจุความร้อนและการหาปริมาณความร้อนในปฏิกิริยาเทอร์โมเคมี การเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีได้

15.   อธิบายความหมายและประยุกต์ใช้กฏข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ และกฏข้อที่สามของเทอร์โมไดนามิกส์ เอนโทรปีกับทิศทางของปฏิกิริยา พลังงานอิสระได้

16.   ทดลองการหาพลังงานการเกิดปฏิกิริยาของแมกนีเซียมออกไซด์ได้

 

รวมทั้งหมด  16  ผลการเรียนรู้

 


Course image ว 30228 เคมี 3
โครงการ วมว.

คำอธิบายรายวิชา

30228  เคมี 3                                                                  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ภาคเรียนที่ 1                                เวลา  80 ชั่วโมง  จำนวน  2.0  หน่วยกิต


ศึกษา วิเคราะห์ คำนวณ ทดลอง  ทดสอบ อธิบาย ระบุ สืบค้น นำเสนอ เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์  การเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า ปฏิกิริยาย้อนกลับและปฏิกิริยาที่ผันกลับได้  ทดลองเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่ผันกลับได้   การเปลี่ยนแปลงที่ทําให้เกิดภาวะสมดุลระหว่างสถานะ  สมดุลในสารละลายอิ่มตัว สมดุลไดนามิก  สมดุลเคมีในปฏิกิริยา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารต่างๆ ณ ภาวะสมดุล  ค่าคงที่สมดุลกับสมการเคมี  หาความเข้มข้นของสารในปฏิกิริยา ณ ภาวะสมดุล  ทดลองเพื่อศึกษาผลของความเข้มข้น  ความดัน  อุณหภูมิต่อภาวะสมดุลและค่าคงที่สมดุล หลักของเลอชาเตอลิเอและการนําหลักของเลอชาเตอลิเอไปใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรม  กระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ศึกษา  วิเคราะห์ การจำแนกกรดและเบส นิยามกรดและเบสตามทฤษฎีต่างๆ  การแตกตัวของกรดและเบส การคำนวณค่าคงที่ของการแตกตัวของกรด เบส และน้ำ การคำนวณค่า pH ของสารละลาย  สารละลายบัฟเฟอร์ และการคำนวณปริมาณของสารในการเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ การคำนวณ pH ของปฏิกิริยาการไทเทรต การเกิดไฮโดรไลซิส อินดิเคเตอร์และการเลือกใช้อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสม คำนวณค่าคงที่ผลคูณการละลาย ความสามารถในการละลายและการเลือกตกตะกอนของสาร รวมทั้งทดลองเพื่อศึกษาปฏิกิริยาการให้และรับโปรตอนของ  HCO3-   การไทเทรตหาจุดยุติ/จุดสมมูลของปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่ การหาปริมาณสารลดกรดในยาลดกรดชนิดที่มี  CaCO3 และหาปริมาณกรดในยาทัมใจ  และสารละลายบัฟเฟอร์

การถ่ายโอนอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับสารละลายของโลหะไอออน  ปฏิกิริยาออกซิเดชัน ปฏิกิริยารีดักชัน ปฏิกิริยารีดอกซ์ ตัวรีดิวซ์  ตัวออกซิไดซ์ การเขียนและดุลสมการรีดอกซ์โดยใช้เลขออกซิเดชันและครึ่งปฏิกิริยา เซลล์ไฟฟ้าเคมี  เซลล์กัลวานิก  การเขียนแผนภาพของเซลล์กัลวานิก  การหาค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์และศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานของครึ่งเซลล์  ปฏิกิริยาในเซลล์กัลวานิกประเภทเซลล์ปฐมภูมิและเซลล์ทุติยภูมิบางชนิด ทดลองเพื่อศึกษาหลักการสร้างและการทํางานของเซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว  เซลล์อิเล็กโทรไลติกและทดลองการแยกสารละลายด้วยไฟฟ้าตามหลักการของเซลล์อิเล็กโทรไลติกศึกษาการแยกสารที่หลอมเหลวด้วยไฟฟ้า การทดลองชุบโลหะด้วยกระแสไฟฟ้า การทําให้โลหะบริสุทธิ์  การถลุงแร่     การผุกร่อนและการป้องกันการผุกร่อนของโลหะ  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ไฟฟ้าเคมี

          โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

          เพื่อให้ปฏิบัติตนให้มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

 

ผลการเรียนรู้

1.       อธิบายความหมายของปฏิกิริยาผันกลับได้  ภาวะสมดุล  ค่าคงที่สมดุล และสมบัติต่างๆ ของระบบ     ณ ภาวะสมดุลได้

2.       เขียนและคำนวณหาค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาได้

3.       ทดลองเพื่อศึกษาภาวะสมดุลและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุลตามหลักของเลอชาเตอริเอได้

4.       บอกความหมายและสมบัติของสารละลายอิเล็กโทรไลต์  และนอนอิเล็กโทรไลต์  ระบุประเภทของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ได้

5.       อธิบายความหมายของกรด – เบส  ตามทฤษฎีต่างๆ  คู่กรด – เบส  คุณสมบัติของกรด – เบส  และคำนวณค่าคงที่การแตกตัวของกรด – เบส และน้ำ ได้ 

6.       อธิบายการเปลี่ยนแปลงภาวะสมดุลของน้ำเมื่อเติมกรดหรือเบส พร้อมทั้งคำนวณหาความเข้มข้นของ  H3O+ และ OH-  ในสารละลาย  และค่า  pH  ของสารละลายได้

7.       เลือกใช้อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสม  เขียนกราฟ  หาจุดสมมูล คำนวณหาความเข้มข้นของสารละลาย และ pH  ของสารละลายจากปฏิกิริยาการไทเทรตได้

8.       อธิบายปฏิกิริยาของกรด – เบส และปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสได้

9.       อธิบายเกี่ยวกับสารละลายบัฟเฟอร์ การคำนวณปริมาณของสารในการเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ได้

10.   ทดลองเพื่อศึกษาปฏิกิริยาการให้และรับโปรตอนของ  HCO3-   การไทเทรตหาจุดยุติ/จุดสมมูลของปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่ การหาปริมาณสารลดกรดในยาลดกรดชนิดที่มี  CaCO3 และหาปริมาณกรดในยาทัมใจ  และสารละลายบัฟเฟอร์ได้

11.   ทดลองการถ่ายโอนอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับสารละลายของโลหะไอออนได้

12.   อธิบายความหมายปฏิกิริยาออกซิเดชัน  ปฏิกิริยารีดักชัน และปฏิกิริยารีดอกซ์ได้

13.   เขียนและดุลสมการรีดอกซ์โดยใช้เลขออกซิเดชันและครึ่งปฏิกิริยาได้

14.   ต่อเซลล์กัลวานิกจากครึ่งเซลล์ที่กำหนดให้  พร้อมทั้งบอกขั้วแอโนด  ขั้วแคโทด เขียนสมการแสดงปฏิกิริยา  เขียนแผนภาพเซลล์กัลวานิก  และคำนวณค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์และศักย์ไฟฟ้าของครึ่งเซลล์ได้

15.   อธิบายหลักการทำงานพร้อมเขียนสมการของปฏิกิริยาในเซลล์กัลวานิกประเภทปฐมภูมิ  ทุติยภูมิ และเซลล์อิเล็กโทรไลติกได้

16.   อธิบายการแยกสารไอออนิกที่หลอมเหลวด้วยกระแสไฟฟ้า

17.   ทดลองการแยกสารเคมีด้วยกระแสไฟฟ้า  การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า และการทำให้โลหะบริสุทธิ์  พร้อมทั้งเขียนสมการที่เกิดขึ้นได้

18.   อธิบายและประยุกต์ใช้กฎของฟาราเดย์  คำนวณเกี่ยวกับปฏิกิริยาอิเล็กโทรไลซิส  คำนวณค่า DG0 และทำนายการเกิดขึ้นได้เองของปฏิกิริยารีดอกซ์ได้

19.   ทดลองชุบโลหะด้วยไฟฟ้า  การผุกร่อนของโลหะและวิธีการป้องกันได้

20.   อธิบายหลักการทำงานของแบตเตอรี่อิเล็กโทรไลต์แข็ง  แบตเตอรี่อากาศ  การทำอิเล็กโทรไดอะลิซิสน้ำทะเลได้

รวมทั้งหมด  20  ผลการเรียนรู้


Course image ว 30235 เคมี 4
โครงการ วมว.

คำอธิบายรายวิชา

30235  เคมี 4                                                                  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 1                                เวลา  40 ชั่วโมง  จำนวน  1.0  หน่วยกิต

 

 

ศึกษา วิเคราะห์ คำนวณ ทดลอง  ทดสอบ อธิบาย ระบุ สืบค้น นำเสนอ เกี่ยวกับตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ที่มีพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม ที่พบในชีวิตประจำวัน สูตรโครงสร้างลิวอิส สูตรโครงสร้างแบบย่อ สูตรโครงสร้างแบบเส้น ประเภทของสารประกอบอินทรีย์ ชื่อสารประกอบอินทรีย์ตามระบบ IUPAC ไอโซเมอร์โครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ จุดเดือดและการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาการเผาไหม้ ปฏิกิริยากับโบรมีน หรือปฏิกิริยากับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต

สมการเคมีการเกิดปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาการสังเคราะห์เอไมด์  ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน การนำสารประกอบอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรม ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์จากโครงสร้างของมอนอเมอร์หรือพอลิเมอร์  โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ ประเภทของพลาสติกและผลิตภัณฑ์ยาง การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และการสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่มีต่อสมบัติของพอลิเมอร์  ผลกระทบจากการใช้และการกำจัดผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์และแนวทางแก้ไข  กำหนดปัญหา  นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้ทางเคมีจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ หรืออุตสาหกรรม  การบูรณาการความรู้ทางเคมีร่วมกับสาขาวิชาอื่น รวมทั้งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยเน้นการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์หรือประเด็นที่สนใจ  นำเสนอผลงานหรือชิ้นงานที่ได้จากการแก้ปัญหาในสถานการณ์หรือประเด็นที่สนใจโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  การเข้าร่วมการสัมมนา การเข้าร่วมประชุมวิชาการ หรือการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์ในงานนิทรรศการ

          โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

          เพื่อให้ปฏิบัติตนให้มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

 

ผลการเรียนรู้

1. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ที่มีพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม ที่พบในชีวิตประจำวัน

2. เขียนสูตรโครงสร้างลิวอิส สูตรโครงสร้างแบบย่อ และสูตรโครงสร้างแบบเส้นของสารประกอบอินทรีย์

3. วิเคราะห์โครงสร้าง และระบุประเภทของสารประกอบอินทรีย์จากหมู่ฟังก์ชัน

4. เขียนสูตรโครงสร้างและเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ ที่มีหมู่ฟังก์ชันไม่เกิน ๑ หมู่ ตามระบบ IUPAC

5. เขียนไอโซเมอร์โครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ

6. วิเคราะห์ และเปรียบเทียบจุดเดือดและการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชัน ขนาดโมเลกุล หรือโครงสร้างต่างกัน

7. ระบุประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและเขียนผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาการเผาไหม้ ปฏิกิริยากับโบรมีน หรือปฏิกิริยากับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต

8. เขียนสมการเคมีและอธิบายการเกิดปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาการสังเคราะห์เอไมด์ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน

9. ทดสอบปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน

10. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอตัวอย่างการนำสารประกอบอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรม

11. ระบุประเภทของปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์จากโครงสร้างของมอนอเมอร์หรือพอลิเมอร์

12. วิเคราะห์ และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ รวมทั้ง การนำไปใช้ประโยชน์

13. ทดสอบ และระบุประเภทของพลาสติกและผลิตภัณฑ์ยาง รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์

14. อธิบายผลของการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และการสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่มีต่อสมบัติของ พอลิเมอร์

15. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอตัวอย่างผลกระทบจากการใช้และการกำจัดผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์และแนวทางแก้ไข

16. กำหนดปัญหา และนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้ทางเคมีจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ หรืออุตสาหกรรม

17. แสดงหลักฐานถึงการบูรณาการความรู้ทางเคมีร่วมกับสาขาวิชาอื่น รวมทั้งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยเน้นการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์หรือประเด็นที่สนใจ

18. นำเสนอผลงานหรือชิ้นงานที่ได้จากการแก้ปัญหาในสถานการณ์หรือประเด็นที่สนใจโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

19. แสดงหลักฐานการเข้าร่วมการสัมมนา การเข้าร่วมประชุมวิชาการ หรือการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์ในงานนิทรรศการ

รวมทั้งหมด  19 ผลการเรียนรู้


Course image ว30248 ชีววิทยา 3
โครงการ วมว.

คำอธิบายรายวิชา

ว30248 ชีววิทยา 3                                                    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ภาคเรียนที่ 1                        เวลา  40 ชั่วโมง  จำนวน  1  หน่วยกิต

 

               ศึกษาละอธิบายเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของพืช  เนื้อเยื่อพืช  โครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะของพืชดอกจากราก ลำต้น และใบ  การแลกเปลี่ยนแก๊สและคายน้ำของพืช   การลำเลียงน้ำและสารอาหารของพืช  การลำเลียงอาหารของพืช  ศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสง  การค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง  กลไกการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช   โฟโตเรสไพเรชัน  กลไกการเพิ่มความเข้มข้นพืช C4 และพืช CAM  และปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และการปรับตัวของพืชเพื่อรับแสง   ศึกษาการสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต   วัฏจักรชีวิตและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของดอกและการสร้างสปอร์ เรณู ถุงเอ็มบริโอ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ ผลและเมล็ด  การงอกของเมล็ดและการขยายพันธ์พืช  รวมทั้งการวัดการเจริญเติบโต  ศึกษาสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชและการตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

                  โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล  การสำรวจตรวจสอบ การสังเกต การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย สรุปเพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเอง ดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตอื่น เฝ้าระวังและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

ผลการเรียนรู้

1.อธิบายเกี่ยวกับชนิดและลักษณะของเนื้อเยื่อพืช และเขียนแผนผังเพื่อสรุปชนิดของเนื้อเยื่อพืช

2.สังเกต อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้างภายในของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและรากพืช ใบเลี้ยงคู่จากการตัดตามขวาง

3.สังเกต อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้างภายในของลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่จากการตัดตามขวาง

4.สังเกต และอธิบายโครงสร้างภายในของใบพืชจากการตัดตามขวาง

5.สืบค้นข้อมูล สังเกต และอธิบายการแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำของพืช

6.สืบค้นข้อมูล และอธิบายกลไกการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารของพืช

7.สืบค้นข้อมูล อธิบายความสำคัญของธาตุอาหาร และยกตัวอย่างธาตุอาหารที่สำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

8. อธิบายกลไกการลำเลียงอาหารในพืช

9.สืบค้นข้อมูล และสรุปการศึกษาที่ได้จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ในอดีตเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

10. อธิบายขั้นตอนที่เกิดขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช C3

11.เปรียบเทียบกลไกการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในพืช C3 พืช C4 และ พืช CAM

12.สืบค้นข้อมูล อภิปราย และสรุปปัจจัยความเข้มของแสง ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ และอุณหภูมิ ที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

13.อธิบายวัฏจักรชีวิตแบบสลับของพืชดอก

14.อธิบาย และเปรียบเทียบกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียของพืชดอก และอธิบายการปฏิสนธิของพืชดอก

15.อธิบายการเกิดเมล็ดและการเกิดผลของพืชดอก โครงสร้างของเมล็ดและผล และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างต่าง ๆ ของเมล็ดและผล

16.ทดลอง และอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด สภาพพักตัวของเมล็ด และบอกแนวทางในการแก้สภาพพักตัวของเมล็ด

17.สืบค้นข้อมูล อธิบายบทบาทและหน้าที่ของออกซิน ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน เอทิลีน และกรดแอบไซซิก และอภิปรายเกี่ยวกับการนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

18.สืบค้นข้อมูล ทดลอง และอภิปรายเกี่ยวกับสิ่งเร้าภายนอกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช


Course image ว30264 โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศเพิ่มเติม
โครงการ วมว.

ว30264  โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศเพิ่มเติม                กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2              เวลา 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต

--------------------------------------------------------------------

ศึกษาพร้อมอธิบายลำดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาในอดีตจากการใช้หลักฐานที่พบในปัจจุบัน  ศึกษาเกี่ยวกับชนิดหินและแร่  สมบัติของหินและแร่  การจำแนกแร่ตามสมบัติของแร่ จำแนกหินตามลักษณะการเกิดและเนื้อหิน  และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแร่และหินที่เหมาะสม  ศึกษากระบวนการเกิด และการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมและถ่านหินโดยใช้ความรู้พื้นฐานทางธรณีวิทยาด้านต่างๆ รวมทั้งวิธีการเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อนำทรัพยากรมาใช้ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ศึกษาองค์ประกอบและการแปรความหมายของแผนที่ภูมิประเทศและแผนที่ธรณีวิทยา พร้อมทั้งนำเสนอการนำข้อมูลจากแผนที่ภูมิประเทศและแผนที่ทางธรณีไปใช้ประโยชน์  

ศึกษาความสัมพันธ์ของดาราศาสตร์กับมนุษย์ โดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของทรงกลมฟ้าการระบุพิกัดของดาวในระบบขอบฟ้าและระบบศูนย์สูตร เส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์  และดาวฤกษ์ การกำหนดเวลา สุริยคติ และตำแหน่งปรากฏของดาวเคราะห์ซึ่งสังเกตได้จากโลก

โดยใช้การบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะและคณิตศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์      การทดลอง การอภิปราย การอธิบายและสรุป

เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ  มีความสามารถในการตัดสินใจมีทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการคิดและการแก้ปัญหา ด้านการสื่อสาร สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิต   ของตนเอง มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้

1. วิเคราะห์หลักฐานทางธรณีวิทยาที่พบในปัจจุบัน และอธิบายลำดับเหตุการณ์ ทางธรณีวิทยาในอดีต

2. ตรวจสอบ และระบุชนิดแร่ รวมทั้งวิเคราะห์สมบัติและนำเสนอการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแร่ที่เหมาะสม

3. ตรวจสอบ จำแนกประเภท และระบุชื่อหิน รวมทั้งวิเคราะห์สมบัติและนำเสนอการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรหินที่เหมาะสม

4. อธิบายกระบวนการเกิด และการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมและถ่านหิน โดยใช้ข้อมูล ทางธรณีวิทยา

5. อธิบายสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเลียมและถ่านหิน พร้อมนำเสนอการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม

6. อ่านและแปลความหมายจากแผนที่ ภูมิประเทศและแผนที่ธรณีวิทยาของพื้นที่ ที่กำหนดพร้อมทั้งอธิบายและยกตัวอย่าง การนำไปใช้ประโยชน์

7. สร้างแบบจำลองทรงกลมฟ้า สังเกตและเชื่อมโยงจุดและเส้นสำคัญของแบบจำลองทรงกลมฟ้ากับท้องฟ้าจริง และอธิบายการระบุพิกัดของดาวในระบบขอบฟ้า และระบบศูนย์สูตร

8. สังเกตท้องฟ้าและอธิบายเส้นทางการขึ้น การตกของดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์

9. อธิบายเวลาสุริยคติปรากฏ โดยรวบรวมข้อมูลและเปรียบเทียบเวลาขณะที่ดวงอาทิตย์ผ่านเมริเดียนของผู้สังเกตในแต่ละวัน

10. อธิบายเวลาสุริยคติปานกลาง และการเปรียบเทียบเวลาของแต่ละเขตเวลาบนโลก

11. อธิบายมุมห่างที่สัมพันธ์กับตำแหน่งในวงโคจร และอธิบายเชื่อมโยงกับตำแหน่งปรากฏของดาวเคราะห์ที่สังเกตได้จากโลก

12. สืบค้นข้อมูล อธิบายการสำรวจอวกาศ โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ในช่วงความยาวคลื่นต่าง ๆ ดาวเทียม ยานอวกาศ สถานีอวกาศ และนำเสนอแนวคิดการนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือในอนาคต

13. สืบค้นข้อมูล ออกแบบ และนำเสนอกิจกรรมการสังเกตดาวบนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าและ/หรือกล้องโทรทรรศน์

รวมผลการเรียนรู้ 13 ข้อ

 

 

 


Course image ว30290 โครงงานวิทยาศาสตร์ 1
โครงการ วมว.

คำอธิบายรายวิชา

ว30290  โครงงานวิทยาศาสตร์   1                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1                                  เวลา 20 ชั่วโมง จำนวน 0.5 หน่วยกิต 


ศึกษาวิเคราะห์ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากการศึกษาดูงาน  ทัศนศึกษาแหล่งความรู้ที่เกี่ยวเนื่องในการจัดทำข้อมูลในรูปของโครงงานวิทยาศาสตร์  โดยใช้กระบวนการสืบค้นข้อมูล       กระบวนการกลุ่ม  การทดลอง  การฝึกปฏิบัติจริง  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  กระบวนการคิด  การอธิบาย  อภิปราย  การตั้งคำถาม  การสร้างแบบประเมินที่หลากหลาย  กระบวนการเผชิญสถานการณ์ การแก้ปัญหาและจิตวิทยาศาสตร์ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้

1.ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากแหล่งความรู้

1.    วิเคราะห์สาระสำคัญของข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

2.    ทำการทดลองเบื้องต้นเพื่อนสำรวจความเป็นไปได้ของวิธีการทดลองและความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา

3.    เขียนเค้าโครงย่อของโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ครบทุกขั้นตอน

 

รวมทั้งหมด 4 ข้อ


Course image ว 30290 โครงงานวิทยาศาสตร์ 1
โครงการ วมว.

คำอธิบายรายวิชา

ว30290  โครงงานวิทยาศาสตร์   1                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1                                  เวลา 20 ชั่วโมง จำนวน 0.5 หน่วยกิต

 


ศึกษาวิเคราะห์ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากการศึกษาดูงาน  ทัศนศึกษาแหล่งความรู้ที่เกี่ยวเนื่องในการจัดทำข้อมูลในรูปของโครงงานวิทยาศาสตร์  โดยใช้กระบวนการสืบค้นข้อมูล       กระบวนการกลุ่ม  การทดลอง  การฝึกปฏิบัติจริง  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  กระบวนการคิด  การอธิบาย  อภิปราย  การตั้งคำถาม  การสร้างแบบประเมินที่หลากหลาย  กระบวนการเผชิญสถานการณ์ การแก้ปัญหาและจิตวิทยาศาสตร์ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้

1.ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากแหล่งความรู้

1.    วิเคราะห์สาระสำคัญของข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

2.    ทำการทดลองเบื้องต้นเพื่อนสำรวจความเป็นไปได้ของวิธีการทดลองและความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา

3.    เขียนเค้าโครงย่อของโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ครบทุกขั้นตอน

 

รวมทั้งหมด 4 ข้อ


Course image ว30292 การลงมือทำโครงงาน
โครงการ วมว.

คำอธิบายรายวิชา

การลงมือทำโครงงาน   ว30292                              กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1                                              เวลา 20 ชั่วโมง 0.5 หน่วยกิต

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลงมือปฏิบัติทดลองได้อย่างเป็นขั้นตอนและมีระบบตามแผนการสำรวจตรวจสอบ อังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวบรวมข้อมูลจัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุป ทั้งที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับสมมติฐานและความผิดปกติของข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบ สร้างแบบจำลอง หรือรูปแบบ ที่อธิบายผล หรือแสดงผลของการสำรวจตรวจสอบ นำความรู้ที่ได้ไปใช้ ในสถานการณ์ใหม่หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการและผลของโครงงาน หรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ บันทึกและอธิบายผลการสังเกตการสำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่างๆ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบ เมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ และมีจิตวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่

โดยใช้การบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะและคณิตศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์      การทดลอง การอภิปราย การอธิบายและสรุป

เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด สามารถสื่อสารสิ่งที่ศึกษา มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสมให้ปฏิบัติตนให้มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

 

ผลการเรียนรู้

1. รวบรวมข้อมูลจัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุป ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตระหนักและมีความมุ่งมั่นต่อการทำงาน

2. ลงมือปฏิบัติทดลองได้อย่างเป็นขั้นตอนและมีระบบตามแผนการสำรวจตรวจสอบ

3. เขียนรายงานเชิงวิชาการ โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล มีมารยาทในการเขียนและตระหนักถึงการใฝ่เรียนรู้