คำอธิบายรายวิชา

วิทยาศาสตร์อุบลราชธานี   ว32295                         กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2                                                     เวลา 20 ชั่วโมง 0.5 หน่วยกิต

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิทยาศาสตร์ของศิลปะ วัฒนธรรม สังคมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานี  วิทยาศาสตร์ของเทียนพรรษา ธรณีวิทยาของแหล่งธรณีวิทยาสำคัญในจังหวัดอุบลราชธานี ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี ความหลากหลายทางชีวภาพของอุทยานแห่งชาติผาแต้มและ       ภูจองนายอย วัดเรืองแสง ผ้ากาบบัวและการย้อมสีธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ของการเกษตรลุ่มแม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำมูน

โดยใช้การบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะและคณิตศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์      การทดลอง การอภิปราย การอธิบายและสรุป

เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์ และสามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ ตัดสินใจและแก้ปัญหา สร้างแบบจำลองหรือชิ้นงาน ดำรงชีวิตตนเองได้อย่างมีความสุข และพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

ผลการเรียนรู้

1. ตระหนักถึงความสำคัญและบอกคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม สังคมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานีได้

2. อธิบายหลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ วัฒนธรรม สังคมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานีได้

3. อธิบายหลักการวิทยาศาสตร์ของขี้ผึ้งและเทียนพรรษาและบอกความความสำคัญและบอกคุณค่าของประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีได้

4. อธิบายความเป็นมาและหลักการทางธรณีวิทยาของแหล่งธรณีวิทยาสำคัญในจังหวัดอุบลราชธานีได้

5. อธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานีได้ เช่น แม่น้ำสองสี น้ำโขงเปลี่ยนสี ตะวันแรกแห่งสยาม และกุ้งเดินขบวน

6. อธิบายความหลากหลายทางชีวภาพของอุทยานแห่งชาติผาแต้มและภูจองนายอยและนำไปประยุกต์ใช้ในเนื้อหาที่เรียนได้

7. อธิบายหลักการของการเรืองแสง วัสดุเรืองแสง และการนำไปประยุกต์ใช้ในวัดเรืองแสงของจังหวัดอุบลราชธานีได้

8. อธิบายวิทยาศาสตร์ของของเส้นใยธรรมชาติ สีย้อมจากต้นไม้ และการย้อมสีธรรมชาติของผ้ากาบบัวของจังหวัดอุบลราชธานีได้

9. อธิบายแนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์ของการเกษตรลุ่มแม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำมูนและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้

10. จัดทำโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะและคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้ 

11. มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม ค่านิยมและประยุกต์ใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รวมผลการเรียนรู้ 11 ข้อ