พยานหลักฐานในสำนวนคดีแพ่ง การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่ง ภาระการพิสูจน์ในคดีแพ่ง หลักเกณฑ์ในการยื่นบัญชีระบุพยานในคดี วิธีการนำสืบพยานหลักฐาน การส่งสำเนาเอกสารล่วงหน้า การนำสืบด้วยต้นฉบับเอกสาร การปิดอากรแสตมป์ การนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร ประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ในคดีอาญาพยาน การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา วิธีการนำสืบพยานหลักฐานในคดีอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หลักกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่ง ภาค 1 บททั่วไป ภาค 2 ภาค 3 วิธีพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น อุทธรณ์และฎีกา
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา หลักทั่วไป อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล หมายเรียกและหมายอาญา การจับ ขัง จำคุก ค้น และปล่อยชั่วคราว การสอบสวน การชันสูตรพลิกศพ การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1 และภาค 2
ที่มาและระบบศาลในประเทศไทย ความหมายของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ลำดับชั้นของศาล การจัดตั้งหรือยกเลิกศาล เขตอำนาจศาล ผู้พิพากษาในศาลชั้นต่างๆ อำนาจของผู้พิพากษาในตำแหน่งต่าง ๆ องค์คณะผู้พิพากษาและอำนาจของผู้พิพากษานายเดียว การจ่ายสำนวนคดี การเรียกคืนหรือโอนหรือขอคืนสำนวนคดีของศาลยุติธรรม ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับอาชญาวิทยา ลักษณะและเหตุปัจจัยต่อการกระทำความผิด การกระทำที่เป็นอาชญากรรม การป้องกันอาชญากรรม ความหมายของทัณฑวิทยา ทฤษฎีการลงโทษ มาตรฐานขั้นตํ่าในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ระบบเรือนจำ ทัณฑสถาน มาตรการรอการลงโทษและการพักการโทษ ทฤษฎีและการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดด้วยวิธีการต่าง ๆ
ความหมายและลักษณะทั่วไปของฝ่ายปกครอง และกฎหมายปกครอง บ่อเกิดของกฎหมายปกครอง หลักพื้นฐานของกฎหมายปกครอง การใช้และการตีความกฎหมายปกครอง การจัดตั้งและสถานะทางกฎหมายของนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน การจัดองค์กรและบุคลากรของรัฐฝ่ายปกครอง ทฤษฎีว่าด้วยการกระทำของฝ่ายปกครอง หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติราชการเพื่อออกคำสั่งทางปกครองของฝ่ายปกครองตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎ สัญญาทางปกครอง ปฏิบัติการทางปกครองและทรัพย์สินของรัฐ
ประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการ ความหมาย และประเภทของรัฐธรรมนูญ ปรัชญาของแนวคิดต่าง ๆ ของระบบรัฐธรรมนูญนิยม แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพตลอดจนหลักประกันการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ หลักประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม หลักการแบ่งแยกอำนาจและการถ่วงดุลระหว่างอำนาจ ระบบการควบคุมมิให้กฎหมายขัดกับรัฐธรรมนูญ ทั้งโครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญไทยที่เกี่ยวกับองค์กรฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และกระบวนการนิติบัญญัติ ระบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ความหมาย ลักษณะของตราสารเปลี่ยนมือ พัฒนาการของกฎหมายตั๋วเงิน ประเภทของตั๋วเงินข้อความที่ลงในตั๋วเงิน Prima facie liable การลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน ความสามารถของคู่สัญญาในตั๋วเงิน ผู้ทรง หลักสุจริต การใช้เงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน เช็ค ตั๋วแลกเงิน อายุความ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และความผิดอันเกี่ยวกับการใช้เช็ค ตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการใช้เช็ค
บทเบ็ดเสร็จทั่วไปเกี่ยวกับมรดก สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก พินัยกรรม วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก มรดกที่ไม่มีผู้รับ อายุความ ปัญหาข้อพิพาทและการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับมรดก ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 6
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแนวคิดด้านกฎหมาย หลักกฎหมายพื้นฐานเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับบริบทของประชาคมอาเซียน
แนวคิด ทฤษฎี และหลักการใช้ การตีความกฎหมายทั้งในแง่ทฤษฎีและการปฏิบัติ เปรียบเทียบความแตกต่างของหลักการตีความระหว่างระบบกฎหมายจารีตประเพณี กับระบบประมวลกฎหมาย หลักการใช้และตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรและการใช้กฎหมายแบบเทียบเคียง การใช้กฎหมายประเพณี การใช้กฎหมายประเภท “หลักกฎหมายทั่วไป” ตามมาตรา 4 (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) และหลักการใช้และการตีความกฎหมายอาญา กฎหมายมหาชน กฎหมายแพ่ง กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายเฉพาะอื่นๆ
ความหมายและความสำคัญของวิชาชีพกฎหมาย วิวัฒนาการของวิชาชีพกฎหมาย อุดมคติและจริยธรรม คุณธรรมพื้นฐานของนักกฎหมาย งาน หน้าที่และบทบาทในการผดุงความยุติธรรม การดำรงชีวิตและการอุทิศตนเพื่อสังคมของนักกฎหมาย องค์กรของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย หลักจริยธรรมหรือจรรยาบรรณของนักกฎหมายที่สาขาได้กำหนดไว้และการควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย
หลักปรัชญาทั่วไป หลักพุทธปรัชญา แนวความคิดและทฤษฎีทางนิติปรัชญา ประวัติศาสตร์นิติปรัชญาตะวันออก ประวัติศาสตร์นิติปรัชญาตะวันตก สำนักกฎหมายธรรมชาติสมัยเก่า-สมัยใหม่ สำนักกฎหมายกฎหมายต่างๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษย์กับคอมพิวเตอร์ มนุษย์กับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ขอบเขต ประเด็นปัญหาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุปสรรค ข้อจำกัด การเข้าถึง การควบคุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในวัฒนธรรมที่แตกต่าง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน การใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต ภัยที่จากการใช้คอมพิวเตอร์
สภาพ สถานะ และโครงสร้างกฎหมายของอาเซียน ประชาคมอาเซียน กฎบัตรอาเซียน ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีผลประโยชน์ต่ออาเซียน บทบาทของประเทศไทยต่ออาเซียน
แนวทางการศึกษาวิชานิติศาสตร์ การอ่าน การค้นคว้าข้อมูล การจับประเด็นสาระส าคัญ และการแสดงความคิดเห็นของตน ฝึกปฏิบัติในการเขียนตอบข้อสอบกฎหมาย
แนวทางการศึกษาวิชานิติศาสตร์ การอ่าน การค้นคว้าข้อมูล การจับประเด็นสาระส าคัญ และการแสดงความคิดเห็นของตน ฝึกปฏิบัติในการเขียนตอบข้อสอบกฎหมาย
แนวทางการศึกษาวิชานิติศาสตร์ การอ่าน การค้นคว้าข้อมูล การจับประเด็นสาระส าคัญ และการแสดงความคิดเห็นของตน ฝึกปฏิบัติในการเขียนตอบข้อสอบกฎหมาย
ความเป็นมา แนวคิดพื้นฐานและหลักเกณฑ์ในการที่รัฐมีบทบาทในกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งการเข้าควบคุมการดำเนินการทางเศรษฐกิจของเอกชน การที่รัฐเข้าดำเนินการในทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ความคิดว่าด้วยการกระทำในทางปกครองเกี่ยวกับเศรษฐกิจตลอดจนผลทางกฎหมายจากการกระทำของฝ่ายปกครองที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการยืม ยืมใช้คงรูป ยืมใช้สิ้นเปลือง การกู้ยืมเงิน หลักกฎหมายเกี่ยวกับการค้ำประกัน ลักษณะของสัญญาค้ำประกัน ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน ผลก่อนการชำระหนี้ ผลภายหลังการชำระหนี้ ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาค้ำประกัน หลักกฎหมายเกี่ยวกับจำนอง หลักทั่วไป ที่มาของสัญญาจำนอง บทเบ็ดเสร็จทั่วไปจำนอง สิทธิจำนอง สิทธิหน้าที่ของผู้จำนองและผู้รับจำนอง การบังคับจำนอง สิ้นสุดสัญญาจำนอง หลักกฎหมายเกี่ยวกับจำนำ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป สิทธิหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ การบังคับจำนำ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3